สถิติผู้เยี่ยมชม |
|
เริ่มนับ 3/ต.ค./2559
|
198.235.24.xxx | 11/ส.ค./2565 |
110.170.245.xxx | 11/ส.ค./2565 |
58.8.45.xxx | 11/ส.ค./2565 |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยทั่วไป |
|
เรื่อง : การวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาใน ๕ เชียง (งปม.2557)
เจ้าของผลงาน : พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง)
อาทิตย์ ที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ.2560
เข้าชม : 1968 จำนวนการดาวน์โหลด : 1845 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาใน ๕ เชียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และการแพร่กระจายของอักษรล้านนาในกลุ่ม ๕ เชียง ศึกษาอักษรหรือภาษาล้านนาที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่ม ๕ เชียง และวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในกลุ่ม ๕ เชียง ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาล้านนามีจำนวน ๑๕ คน และกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ยังใช้ภาษาล้านนาในการเขียนและพูดในปัจจุบันมีจำนวน ๑๕ คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ๓๐ คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่จริง การสังเกต บันทึกเสียง สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ภาษาล้านนาและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความเรียงและจัดกลุ่ม แล้วนำมาสรุปและรายงานผล ตามกรอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
การแพร่กระจายของของภาษาล้านนานั้นมีสาเหตุแห่งการแพร่กระจายไปสู่ดินแดนที่เป็นบริวารในปกครองใน ๒ ลักษณะ คือ การอพยพผู้คนในช่วงการทำศึกสงคราม และอิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สำหรับความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่ม ๕ เชียงนั้นมีพระพุทธศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาล้านนาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์กันอย่างเด่นชัดใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) ความสัมพันธ์ทางด้านค่านิยมที่มีต่อสังคม วิถีชีวิต (๒) ความสัมพันธ์ทางด้านวิถีปฏิบัติ ความเชื่อ วัฒนธรรม จารีต และประเพณี และ (๓) ความสัมพันธ์ทางด้านศิลปะ และสถาปัตยกรรม
ส่วนบริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในกลุ่ม ๕ เชียง ยังมีการใช้ภาษาล้านนาในชุมชนที่เหมือนกันกล่าวคือ ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปยังมีการใช้ภาษาล้านนาหรือภาษาท้องถิ่นอยู่ที่เป็นภาษาพูด (คำเมือง) ไม่ว่าจะเป็นที่เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และเชียงทอง เพียงแต่สำเนียงอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่สามารถสื่อความหมายกันเข้าใจได้โดยไม่ต้องอาศัยมัคคุเทศก์ในการนำพา
บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะสูญหายไปในที่สุดถ้าไม่ช่วยกันฟื้นฟูอนุรักษ์และสืบสาน แนวทางในการจะฟื้นฟู อนุรักษ์ และสืบสานในประเทศไทย มี ๓ ประเด็น คือ การฟื้นฟูการเรียนการสอนในวัด ในสถานศึกษาทุกแห่งของภาคเหนือ การสร้างเครือข่ายการส่งเสริมสนับสนุนกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และการปริวรรตภาษาล้านนาโดยเทียบกับอักษรไทยกลางแบบผสมอักษรเหมือนกับภาษาไทยกลาง
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|