สถิติผู้เยี่ยมชม |
|
เริ่มนับ 3/ต.ค./2559
|
44.200.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
54.36.148.xxx | 13/ส.ค./2565 |
114.119.145.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
185.191.171.xxx | 13/ส.ค./2565 |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยทั่วไป |
|
เรื่อง : การศึกษารูปแบบและสภาพแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย (งปม.2555)
เจ้าของผลงาน : พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง)
อาทิตย์ ที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ.2560
เข้าชม : 1345 จำนวนการดาวน์โหลด : 1769 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
สภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายด้านพุทธศิลปะ/สถาปัตยกรรมเหมาะสมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อ พบว่า ความสวยงามของปะติมากรรมฝาผนังภายในวัด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ความสวยงามของสถาปัตยกรรมภายในวัด ด้านความสะดวกสบายในการท่องเที่ยววัด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อพบว่า มีป้ายชื่อและรายละเอียดแจ้งถึงสถานที่ภายในวัดที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ที่จอดรถเพียงพอสำหรับผู้เข้าไปท่องเที่ยวภายในวัด ด้านค่าใช้จ่ายของการเข้าท่องเที่ยวภายในวัด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อ พบว่า ราคาเครื่องสักการบูชามีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ราคาวัตถุมงคลมีความเหมาะสม ด้านแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสารประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อพบว่า ศิลปวัฒนธรรมที่มีในวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ มีสุภาษิตเตือนใจ หลักธรรมมีให้อ่านให้ศึกษา และบุคลากร/ประชาสัมพันธ์ของวัดให้ความรู้ได้ดี เท่ากัน
ส่วนแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ควรปรับปรุงคำไหว้พระธาตุ/พระพุทธรูป รองลงมาได้แก่ ประวัติวัด/ประวัติพระธาตุ ภาพจิตรกรรม พิพิธภัณฑ์ และคติคำคม ตามลำดับ ด้านการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์มาก ๆ ต่อผู้เข้าไปท่องเที่ยว ส่วนใหญ่อยากให้เพิ่มแหล่งเรียนรู้ที่เป็นศิลปะล้านนาให้มากขึ้น รองลงมา ได้แก่ จัดทำสื่อที่เป็นตู้ระบบมัลติมีเดียอธิบายถึงบริเวณวัดหรือสิ่งสำคัญของวัด ด้านข้อแนะนำอื่น ๆ ได้แก่ ควรมีศาลาที่พักเพิ่มขึ้น มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริการ ปลูกไม้ในวรรณคดีหรือพุทธประวัติให้ศึกษาเรียนรู้
ปัญหาอุปสรรคของวัดด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ในวัด (อนุรักษ์พุทธศิลป์ วัฒนธรรมประเพณี) ส่วนใหญ่เกิดจากความสนใจของนักท่องเที่ยวที่ไม่มีแนวคิดที่จะไปศึกษาเรียนรู้ในวัด นอกจากนั้นระยะทางการเดินทางไกล ค่าใช้จ่ายมาก ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินระหว่างเดินทางก็เป็นอีกหนึ่งของปัญหาอุปสรรค และงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันดับแรก อันดับรองลงมาได้แก่ หน่วยงาน องค์กร ที่วัดนั้นอยู่ในพื้นที่ไม่ค่อยให้ความสนใจที่จะร่วมพัฒนาวัด บุคลากรภายในวัดส่วนใหญ่ขาดความรู้ ประสบการณ์การจัดวัดให้เป็นสถานที่เรียนรู้ของนักท่องเที่ยว ชุมชนไม่ได้เข้าไปร่วมกับการแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการเพราะเห็นว่าผู้ที่บริหารวัดนั้นมีภูมิความรู้อยู่แล้วไม่กล้าไปแสดงความคิดเห็น
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|