บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย : การวิเคราะห์จากเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายตามเอกสารและคัมภีร์สาคัญของแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย และเพื่อวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คติธรรม ความเชื่อ และหลักปฏิบัติ ตามเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาค้นคว้าด้านโบราณสถานที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ ชินกาลมาลีปกรณ์ พงศาวดารโยนก เอกสารตารา ใบลาน พับสา ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย และแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ส่วนด้านประชากร ได้แก่ นักโบราณคดี ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ นักประวัติศาสตร์ โดยศึกษาแหล่งโบราณสถานโบราณคดีในจังหวัดเชียงราย ๑๐ อาเภอ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า จังหวัดเชียงรายมีพระพุทธศาสนาเข้ามา ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะแรก นับแต่การเผยแผ่พุทธศาสนาของพระโสภณเถระและพระอุตรเถระ สมณทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช นาศาสนามาเผยแผ่ทางสุวรรณภูมิ ระยะที่ ๒ ในสมัยพระนางจามเทวี แห่งอาณาจักรหริภุญไชย นาเอาพระสงฆ์มาจากละโว้ และมาประสานกับพระสงฆ์ที่มีอยู่แต่เดิมในอาณาจักรโยนก และระยะที่ ๓ ในสมัยอาณาจักรล้านนาได้รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ส่วนแหล่งโบราณสถานโบราณคดี พบว่า เป็นโบราณคดีโบราณสถานด้านพระพุทธรูป พระธาตุหรือเจดีย์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพ และเครื่องประดับอันเป็นจารีตประเพณีเดิม และมีคติธรรม ความเชื่อ และหลักปฏิบัติที่มีพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักสาคัญ และใช้เป็นแนวทางการดาเนินชีวิต ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงส่งผลให้ชาวล้านนามุ่งเน้นที่จะประกอบการบุญการกุศล
|