สถิติผู้เยี่ยมชม |
|
เริ่มนับ 3/ต.ค./2559
|
163.172.18.xxx | 5/ก.ค./2565 |
54.36.149.xxx | 5/ก.ค./2565 |
54.36.148.xxx | 5/ก.ค./2565 |
54.36.148.xxx | 5/ก.ค./2565 |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยทั่วไป |
|
เรื่อง : การจัดการความรู้ด้วยทักษะภาษาอังกฤษในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย
เจ้าของผลงาน : นายอานุรักษ์ สาแก้ว
พฤหัสบดี ที่ 28 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2561
เข้าชม : 1651 จำนวนการดาวน์โหลด : 1554 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่องานวิจัย: การจัดการความรู้ด้วยทักษะภาษาอังกฤษในแหล่งโบราณคดี
ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย: นายอานุรักษ์ สาแก้ว
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
ปีงบประมาณ: ๒๕๕๙
ทุนอุดหนุนการวิจัย: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ด้วยทักษะภาษาอังกฤษในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ด้านภาษาอังกฤษของชุมชนในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายแนวทางการจัดการความรู้เกี่ยวกับทักษะภาษาอังกฤษแก่ชุมชนในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา โดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ วัดที่มีแหล่งโบราณคดีและตั้งอยู่เทศบาลนครเชียงราย ๒ วัด คือ วัดพระแก้ว วัดร่องเสือเต้น และวัดในอำเภอเชียงแสน ๑ วัด คือ วัดพระธาตุผาเงา เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงวัดที่มีคนเข้าไปเที่ยวชม สักการะกราบไหว้มากที่สุดในช่วงฤดูหนาว และเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เจาะจงเชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
การจัดการความรู้ของชุมชนที่ด้านภาษาอังกฤษของชุมชนแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในภาพรวม พระภิกษุสามเณรและชุมชนมีความรู้พื้นฐานและทักษะภาษาอังกฤษน้อยถึงน้อยมากและยังไม่มีการจัดการความรู้ของชุมชนที่เป็นรูปธรรม ส่วนแนวทางการจัดการความรู้เกี่ยวกับทักษะภาษาอังกฤษแก่ชุมชนในปัจจุบันยังไม่มีกระบวนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแก่บุคลากร และด้านการจัดการความรู้ภาษาอังกฤษของชุมชนในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา สำหรับการเสนอแนวทางในการจัดการความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ได้ผลที่ค่อนข้างสอดคล้องกัน คือ ทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าควรมีการจัดการความรู้ด้วยทักษะภาษาอังกฤษ ในแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายอย่างจริงจัง เพราะว่าในแต่ละวัดจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่ใช้ภาษาอังกฤษมาเที่ยวชมวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน การสื่อสารในแต่ละทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ และการดำเนินการในปัจจุบันยังพบว่า อยู่ในระดับที่วิกฤติมาก
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|