|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยทั่วไป |
|
เรื่อง : นครแห่งศิลปะ : แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็น อารามหลวงของจังหวัดเชียงราย (งปม.2560)
เจ้าของผลงาน : พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง), ผู้ช่วยศาสตราจารย์
อาทิตย์ ที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ.2560
เข้าชม : 1852 จำนวนการดาวน์โหลด : 1719 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงราย ในภาพรวม ส่วนใหญ่เป็น ปฏิมากรรมประเภทไม้แกะสลัก ซึ่งฝังตัวอยู่ในสถาปัตยกรรมของวัด แต่ยังไม่มีใครน าความหมายของ ปฏิมากรรมเหล่านั้นออกมาเผยแพร่สู่สายตาประชาชน รองลงมาได้แก่ ปฏิมากรรมประเภทหล่อทองส าริด คือ พระพุทธรูปปางต่างๆ และปฏิมากรรมปูนปั้น ตามล าดับ ส่วนจิตรกรรมเป็นจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด แต่มี ความวิจิตร ปราณีตแตกต่างกัน ส าหรับพุทธศิลปกรรมประเภทสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรม แบบล้านนาเกือบทั้งหมด ส่วนการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย พบว่า ทางวัดได้ด าเนินการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การอนุรักษ์โดยให้อยู่ในลักษณะของ สถาปัตยกรรมที่เป็นเสนาสนะ การอนุรักษ์โดยการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงพุทธศิลปกรรมที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์โดยจัดท าป้าย แผ่นพับ เว็บไซต์ของวัด และข้อเสนอแนะหรือแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย พบว่า ศิลปินเชียงราย นักโบราณคดี นัก ประวัติศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ได้ให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่สอดคล้องกัน ๓ ประการ ได้แก่ (๑) แต่ ละวัดควรจัดท าพิพิธภัณฑ์ รวบรวมพุทธศิลปกรรมทั้งเก่าและใหม่มาแสดงไว้ภายในวัดให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปด้วย (๒) แต่ละวัดควรจะมีบุคลากรไว้คอยบริการข้อมูลให้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจศึกษาเรียนรู้ที่นอกเหนือจากป้ายประวัติ แผ่นพับ ที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤาได้จะเป็นการดีมาก และ (๓) แต่ละวัดควรน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการข้อมูล ให้มากขึ้น เช่น คิวอาร์โค๊ด เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคไอทีที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|